การติดตั้งเสาไฟถนนและโคมไฟถนนสาธารณะ

การติดตั้งเสาไฟถนนและโคมไฟถนนสาธารณะ

ไฟฟ้าสาธารณะ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ควรได้รับจากรัฐ ในเรื่องอำนวยความสะดวกแสงสว่างตามถนน ทางเดิน เพราะเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตช่วยลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ และ ภัยโจรกรรมต่างๆ เป็นต้น การติดตั้งเสาไฟถนนและโคมไฟถนนสาธารณะ ควรอยู่บนพื้นฐานความเหมาะสมทางด้านเทคนิค งบประมาณ การสำรวจ ออกแบบ ติดตั้ง ซ่อมแซม และ บำรุง เป็นต้น

โคมไฟฟ้า (Luminaire) หมายถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประกอบไปด้วย หลอดไฟฟ้า และ ชุดประกอบเพื่อติดตั้งให้แสงสว่างแก่บริเวณที่ต้องการ ตัวโคมไฟฟ้า หรือ โคมไฟถนนต้องทำจากวัสดุที่ไม่ขึ้นสนิม ไม่ผุกร่อน แข็งแรงทนทานทุกสภาพอากาศ เช่น Die Cast Aluminum หรือ Glass – Fiber Reinforced Polyester เป็นต้น ฝาครอบโคมไฟถนน ควรทำจาก Polycarbonate Toughened Flat Glass หรือ Acrylic Glass ซึ่่งแสงจากหลอดไฟต้องผ่านสะดวก และท่อต่อรังสี UV

 

ตารางที่ 1 ความต้องการแสงสว่างสําหรับไฟถนน

ประเภทถนน ความส่องสว่างเฉลี่ยวัดในแนวระดับต่ำสุด (lux)
1. ถนนสายหลัก 15
2. ถนนสายรอง 10
3. ทางแยก 22
4. วงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร 15

 

 

ตารางที่ 2 ความต้องการแสงสว่างสําหรับพื้นที่สาธารณะ

ชนิดของพื้นที่

ความส่องสว่างเฉลี่ยวัดในแนวระดับต่ำสุด (lux)
สวนสาธารณะ 10
ในตลาด (ในอาคาร) 100
ลานตลาด (นอกอาคาร) 30
สนามเด็กเล่น 50
ลานจอดรถสาธารณะ 15
ลานกีฬาชุมชน 50
สะพาน 30
สะพานลอยคนข้าม 1 15
ทางเดินเท้า (ฟุตบาท) 7
ทางม้าลาย 4 45
ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจําทาง 3 30
ป้ายจอดรถประจําทาง (ไม่มีศาลา)

7

 

ในบริเวณใดที่มีความเสี่ยงต่ออาชญากรรม การลักขโมย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มมิจฉาชีพสูง ควรเพิ่มความส่องสว่างให้มากขึ้นด้วย รูปแบบการติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะตามแนวถนน ทางแยก วงเวียน สามารถเลือกชนิดของโคมไฟ และดวงโคมที่จะใช้งานได้ตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับ ภูมิทัศน์ของพื้นที่นั้นๆ สําหรับการกําหนดรูปแบบในการติดตั้ง  สามารถดําเนินการได้ดังนี้

1. ติดตั้งฝั่งเดียวกันของถนน เหมาะสําหรับถนนเล็กๆในซอย หรือทางเท้า

2. ติดตั้งสองฝั่งถนน สลับกัน เหมาะสําหรับถนนกว้างไม่เกิน 6 เมตร

3. ติดตั้งสองฝั่งถนน ตรงข้ามกัน เหมาะสําหรับถนนกว้าง 8 เมตร ขึ้นไป

4. ติดตั้งกลางถนนโดยแยกโคมไฟฟ้าเป็นสองทางในเสาต้นเดียวกัน เหมาะสําหรับถนน กว้าง 8 เมตร ขึ้นไป และมีเกาะกลางถนน

5. การติดตั้งโคมไฟที่ทางสี่แยก (Cross-Road)  ซึ่งจะมีระบบติดตั้งถี่กว่าการ ติดตั้งตามแนวถนนปกติ

6.  การติดตั้งโคมไฟที่ทางสามแยก (T-Junction) ซึ่งจะมีระบบติดตั้งถี่กว่าการ ติดตั้งตามแนวถนนปกติ

ระยะห่างระหว่างจุดติดตั้ง การติดตั้งเสาไฟถนนและโคมไฟถนนสาธารณะ

ของขอบถนนสัมพันธ์กับความเร็วของยานพาหนะ

            ในการกําหนดจุดติดตั้งโคมไฟฟ้าจะต้องอยู่ในตําแหน่งที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการติดตั้ง หน้าอาคารซึ่งกีดขวางทางสัญจร หน้าสถานที่สําคัญ และสถานที่ที่น่าสนใจ เช่น อนุสาวรีย์ โบสถ์ และ อาคารที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม เพราะจะทําลายทัศนียภาพ และความสวยงาม  นอกจากนี้เสาดวงโคมที่ติดตั้งริมถนน จะเป็นสิ่งกีดขวางที่อาจจะเกิดอันตรายจากการเฉี่ยวชน ของยานพาหนะที่สัญจรไปมาได้ ดังนั้นเพื่อลดอุบัติเหตุและความรุนแรงของการเฉี่ยวชน จึงควรจะ ติดตั้งเสาดวงโคมให้ห่างขอบถนน(ผิวการจราจร) ให้มาก ทั้งนี้ระยะห่างจากขอบถนนถึงจุดติดตั้งเสาดวง โคมยิ่งมาก จะลดความรุนแรงเนื่องจากการเฉี่ยวชนได้มากเช่นกัน อย่างไรก็ตามการกําหนดระยะห่างจาก ขอบถนนเพื่อติดตั้งโคมไฟจะต้องให้สอดคล้องกับการกําหนดความเร็วของยานพาหนะที่สัญจรในถนนสาย นั้นด้วย

ตารางที่ 2-3 ระยะห่างความปลอดภัยระหว่างจุดติดตั้งดวงโคม กับขอบถนนที่สัมพันธ์กับความเร็วของยานพาหนะ

 

ความเร็วของยานพาหนะ (ก.ม./ชั่วโมง) ระยะห่างจากขอบถนน (เมตร)
50

80

100

120

0.8

1 – 1.5

อย่างน้อย 1.5

อย่างน้อย 1.5

 

ที่มา :BS 5489 : Part 1
หมายเหตุ 1. ความเร็วของยานพาหนะ เป็นความเร็วตามกฎหมายกําหนด

2. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามตารางที่ 2-3 ได้ เนื่องจากไม่มีพื้นที่ระยะห่างจากขอบถนน เพียงพอ ให้สามารถติดตั้งเสาดวงโคมได้ ในระยะไม่ต่ํากว่า 0.65 เมตร พร้อมมีที่กําบังเสา ดวงโคม (Barrier) ความสูง 0.9 – 1.30 เมตร พร้อมทั้งแผ่นสะท้อนแสงสีเหลืองสลับดํา ติดกับที่กําบังนั้นด้วย

ระยะห่างของจุดติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ
หมายถึง ระยะห่างระหว่างจุดติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งหากเป็น การติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะตามแนวถนนก็จะติดตั้งดวงโคมที่เสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ ตามแนวถนนนั้น ระยะห่างระหว่างเสาของการไฟฟ้าฯ จะกําหนดไว้ประมาณ 20 เมตร 40 เมตร และ 80 เมตร ขึ้นอยู่กับขนาด ของสายไฟฟ้าที่พาดบนเสาไฟฟ้า ดังนั้นการติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะตามแนวถนนจึงจะใช้ระยะห่างระหว่าง เสาดังกล่าว แต่บางแห่งเสาไฟฟ้าปักไว้ในเขตทางที่อยู่ห่างถนนมาก (เขตทาง 30-40 เมตร) หากติดตั้งที่ เสาไฟฟ้าจะไม่สามารถให้แสงสว่างได้ตามต้องการ จําเป็นที่จะต้องใช้โคมไฟพร้อมเสาควงโคมหรือเสา คอนกรีตเพื่อติดตั้งตามไหล่ทางหรือทางเท้า ซึ่งสามารถกําหนดระยะห่างได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีระดับแสงสว่างเป็นไปตามมาตรฐานความส่องสว่าง

การติดตั้งเสาไฟถนนและโคมไฟถนนสาธารณะ นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ หรือ วิศวกร ในการควบคุมดูแลการก่อสร้าง และ การเลือกใช้โคมไฟถนนสาธารณะ ให้ตรงกับความต้องการในการใช้งานแต่ละพื้นที่ ซึ่งใช้แสงแตกต่างกันไป เสาไฟถนน.net ยินดีให้บริการคำปรึกษาในการเลือกใช้ เสาไฟถนน โคมไฟถนน led ทุกประเภทให้ตรงกับความต้องของลูกค้ามากที่สุด โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญเรื่องแสงสว่าง กว่า 10 ปี

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : www.streetlightled.net